เมนู

เสนาสนวรรค เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ 8


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 8 ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเวทาสกุฎีและกิริยานั่งทับ]


บทว่า อุปริ เวหาสกุฏิยา ได้แก่ บนกุฎี 2 ชั้นก็ดี บนกุฎี 3
ชั้นก็ดี ที่ข้างบนไม่ได้ปูพื้นไว้
คำว่า มญฺจํ สหสา อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งทับ คือ นั่งคร่อมเตียง
โดยแรง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มญฺจํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. ความว่า นั่งลงบนเตียง. ก็คำว่า อภิ นี้ เป็นเพียงอุปสรรค
เพื่อทำให้บทสวยงามเท่านั้น.
บทว่า ปติตฺวา คือ ตกลง หรือหลุดออกแล้ว . เพราะว่า ใน
เบื้องบนของเท้าเตียงนั้น แม้สลักก็ไม่ใส่ เพราะฉะนั้น เท้าเตียงจึงหลุดออก
บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ได้ทำเสียงร้องครวญครางผิดรูป
คำว่า เวหาสกุฎี นาม มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส อสีสฆฏฺฏา
มีความว่า กุฎีใดไม่กระทบศีรษะแห่งบุรุษผู้มีขนาดปานกลาง ด้วยขื่อที่ต่ำกว่า
เขาทั้งหมด, (กุฎีนั้น ชื่อว่า เวหาสกุฎี) ด้วยคำนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงเวหาสกุฎีที่ทรงประสงค์แล้วในสิกขาบทนี้ . (แต่) หาได้
ทรงแสดงลักษณะของเวหาสกุฎีไว้ไม่. จริงอยู่ กุฎีมี 2 ชนก็ดี กุฎีมี 3 ชั้น
เป็นต้นก็ดี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเบื้องบนไม่ได้ปูพื้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า เวหาสกุฎี. แต่ในสิกขาบทนี้ประสงค์เอาเวหาสกุฎีที่ไม่กระทบ
ศีรษะ. บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งอาบัติ ในการนั่งทับเป็นต้น
ด้วยอำนาจแห่งประโยค โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล